ข้อมูลทั่วไป » ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อมูลพื้นฐาน

29 พฤศจิกายน 2017
430   0

ที่ตั้ง

ตำบลบ้านปงอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสูงเม่นทางทิศตะวันตกประมาณ 6 กิโลเมตร อยู่

ห่างจากจังหวัด ทางทิศใต้ประมาณ 16 กิโลเมตร

เนื้อที่

เนื้อที่ทั้งหมดของตำบลบ้านปง โดยประมาณ 60.097 ตารางกิโลเมตร หรือ 37,561 ไร่

อาณาเขต/ลักษณะทางภูมิศาสตร์

ขนาดพื้นที่ของชุมชน/ตำบลมีอาณาเขตโดยประมาณ   75.84   ตารางกิโลเมตร  หรือ  47,400 ไร่
ทิศเหนือ ติดต่อกับ         บ้านหาดลี่  หมู่ 4  ตำบลสบสาย  อำเภอสูงเม่น

ทิศใต้             ติดต่อกับ         ตำบลปงป่าหวาย  อำเภอเด่นชัย

ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ         แม่น้ำยม

ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ         ตำบลบ้านปิน  อำเภอลอง

การคมนาคม

1 กศน.ตำบลมีระยะห่างจาก ศูนย์ กศน.อำเภอ…………………5…………….กิโลเมตร

2 กศน.ตำบลมีระยะห่างจาก สำนักงาน กศน.จังหวัด………………18……………กิโลเมตร

3 ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก………..175……………………..สาย

4 ถนนลาดยาง…………………………… 3……………………..สาย

5 ถนนลูกรัง…………………………………48…………………..สาย

6 ถนนดิน…………………………………..-………………………สาย

ด้านสาธารณสุข

1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบล…..1…….แห่ง

2 คลินิก จำนวน………………………………..1……………….แห่ง

ด้านศาสนา

วัด จำนวน……….2……….แห่ง คือ

  1. วัดปงท่าข้าม ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
  2. วัดพงหัวหาด ตั้งอยู่หมู่ที่ 3

 แหล่งน้ำที่สำคัญ/แหล่งทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

ทรัพยากรน้ำ   มีแม่น้ำยม  อยู่ทางทิศตะวันออก  ไหลผ่าน  ม.1,2,3,5  และ 6  ตลอดจนเป็นเส้นแบ่งเขตของ ตำบลบ้านปง กับตำบลสูงเม่น  มีลำน้ำแม่สาง  เป็นลำห้วยที่ไหลผ่าน  ม.2,3,6  เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่าง  ม.3 กับ ม.5

1) แหล่งน้ำธรรมชาติ

(1) ลำน้ำ,ลำห้วย 7  แห่ง

(2) หนอง,บึงและอื่นๆ     –  แห่ง

2) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

(1) ฝาย                              15  แห่ง         (6) บ่อน้ำตื้น                            –   แห่ง

(2) บ่อโยก                    –  แห่ง        (7) ประปาหมู่บ้าน                      4  แห่ง

(3) บ่อน้ำบาดาล          7  แห่ง           (8) ถังเก็บน้ำฝน                         5  แห่ง

(4) อ่างเก็บน้ำ            1  แห่ง           (9) สถานีสูบน้ำพลังงานไฟฟ้า          2  แห่ง

(5) สระน้ำ                 3  แห่ง           (10) คลองชลประทาน                  1  แห่ง

          3) การระบายน้ำ

1) พื้นที่น้ำท่วมถึง  คิดเป็นร้อยละ   20  ของพื้นที่ทั้งหมด

2) ระยะเวลาเฉลี่ยที่น้ำท่วมขังนานที่สุด   2  วัน  ประมาณช่วงเดือน   สิงหาคม

3) เครื่องสูบน้ำ   2  เครื่อง

4) น้ำเสีย

1) ปริมาณน้ำเสีย   –  ลบ.ม./วัน

2) ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้   –  รวม   –  แห่ง

3) น้ำเสียที่บำบัดได้   –  ลบ.ม./วัน

4) ค่า BOD.ในแม่น้ำยม  2.6 มิลลิกรัม/ลิตร

 

ลักษณะภูมิอากาศ

ตำบลบึงอยู่ในเขตที่มีลักษณะอากาศแบบร้อนชื้น มี 3 ฤดู
ฤดูฝน   :  เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ฤดูหนาว :  เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ
ฤดูร้อน  :  เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออก เฉียงใต้อุณหภูมิ โดยทั่วไปในฤดูต่างๆ ไม่แตกต่างกันมากนัก

 การปกครองบริหารงานชุมชน/ตำบล

ü 1. องค์การบริหารส่วนตำบล

หมู่ที่ 1  บ้านปงท่าข้าม

หมู่ที่ 2  บ้านปงท่าข้าม

หมู่ที่ 3  บ้านปงหัวหาด

หมู่ที่ 4  บ้านหาดเจริญ

หมู่ที่ 5  บ้านปงท่าข้าม

หมู่ที่ 6  บ้านปงหาดเจริญ

¨ 2. เทศบาลตำบล

¨ 3. เทศบาลเมือง

1.3 ข้อมูลการปกครอง/ประชากร

หมู่ที่/ จำนวนประชากร จำนวน
ชื่อหมู่บ้าน ชาย หญิง รวม ครัวเรือน
หมู่ที่ 1 บ้านปงท่าข้าม 586 634 1220 207
หมู่ที่ 2 บ้านปงท่าข้าม 483 455 938 242
หมู่ที่ 3 บ้านปงหัวหาด 378 384 762 289
หมู่ที่ 4 บ้านหาดเจริญ 301 314. 615 197
หมู่ที่ 5 บ้านปงท่าข้าม 496 496. 992 227
หมู่ที่ 6 บ้านปงหาดเจริญ 295 294 589 200
รวมทั้งหมด 2584 2532 5116 1,974

 

จำนวนประชากรตำบลบ้านปงแยกตามช่วงอายุ

ช่วงอายุ ชาย

(คน)

หญิง

(คน)

รวม

(คน)

น้อยกว่า 5 ปี

5 – 9 ปี

10 – 14 ปี

15 – 19 ปี

20 – 24 ปี

25 – 29 ปี

30 – 34 ปี

35 – 39 ปี

40 – 44 ปี

45 – 49 ปี

50 – 54 ปี

55 – 59 ปี

ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

103

158

207

216

192

169

211

257

287

229

193

164

286

86

155

173

203

187

195

215

247

287

250

175

120

303

189

313

380

419

379

364

426

504

574

479

370

242

589

รวมทั้งหมด 2584 2532 5,076

         

1.4 ข้อมูลเศรษฐกิจ

1) รายได้ของคนในชุมชน เฉลี่ย/คน/ปี………รายได้เฉลี่ยของประชากร  85,562  บาท/คน/ปี

2) เกษตรกรรม   1,245  ครัวเรือน

3) มูลค่าผลผลิตทางการเกษตร   27,262,000  บาท

4) พาณิชยการ และบริการ

อาชพหลักของคนในีชุมชน/ตำบล

ประชากรในตำบลบ้านปงส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยอาศัยน้ำจากชลประทาน,ชลประทานอ่างแม่สาง,และเจาะบ่อน้ำตื้นส่วนตัวในทุ่งนาประกอบด้วย

  1. 1. การทำนา  ทำกันทั่วไป ปลูกข้าวเหนียวและข้าวเจ้า
  2. 2. การทำไร่   มีการปลูก,ถั่วเหลือง,ข้าวโพด,
  3. 3. การเลี้ยงเลี้ยง มีการเลี้ยงไก่ เป็ด การเลี้ยงสุกร ภายในครัวเรือน
  4. 4. การทำเฟอร์นิเจอร์ จากไม้สัก  ในพื้นที่ตำบลบ้านปง
  5. 5. การหาของป่าในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตามฤดูกาล เช่น หาหน่อไม้,เก็บผักหวาน, หาไข่มดแดงและเห็ด
  6. 6. ค้าขายและรับจ้างทั่วไป

1.5 ข้อมูลด้านสังคม

          ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน

ศาสนา

1) ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ   99  ของจำนวนประชากรทั้งหมด

2) วัด  จำนวน   2  วัด

3) ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ   –  ของจำนวนประชากรทั้งหมด

4) มัสยิด  จำนวน   –  แห่ง

5) ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ   1  ของจำนวนประชากรทั้งหมด

6) โบสถ์  จำนวน   2   แห่ง

7) ผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ   –    ของจำนวนประชากรทั้งหมด

8) ผู้ที่ไม่นับถือศาสนาใดเลย ร้อยละ   –  ของจำนวนประชากรทั้งหมด

          วัฒนธรรมและประเพณี

–  ประเพณีสืบชะตา – เป็นวิธีกรรมที่จะทำขึ้นเมื่อมีเคราะห์ อาจจะเป็นราย  บุคคลรายกลุ่มหรือสืบชะตาบ้านเมือง แม่น้ำ ต้นไม้ วัว ควายหรือสัตว์เลี้ยงที่อำนวยประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตเพื่อช่วยต่อชีวิตให้ยืดยาวพ้นจากความเดือดร้อนและภัยพิบัติต่างๆ

– ประเพณีตานตุงแดง- เป็นพิธีกรรมที่ทำให้แก่คนตายโหง เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับคนตายโดยจัดทำตุง(ธงแดง)พร้อมอาหารเครื่องเส้นสรวง กองทราย ตุงช่อ ไก่ขาว แล้วนิมนต์ พระมาสวดทำพิธี ณ.บริเวณที่คนตายเป็นการถอนวิญญาณให้ไปเกิดใหม่หรือไปเสียจากบริเวณนั้น

–  ประเพณีกิ๋นสลาก- หรือถวายสลากภัตรหรือตานก๋วยสลากเป็นประเพณีให้ ทานตามกาลเวลาที่กำหนดไม่เจาะจงว่าจะให้แก่พระสงฆ์องค์ใด จัดขึ้นในช่วงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เหนือ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนเกี๋ยง(กันยายน-พฤศจิกายน)

–  พิธีสงเคราะห์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นจากความเชื่อที่ว่าคนเราอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาวนพเคราะห์เมื่อมีเคราะห์ร้ายหรือบาดเจ็บจึงต้องทำพิธีบวงสรวงเทพเจ้าประจำดาวนพเคราะห์ดวง

– พิธีบูชาเทียน หรือปูจาเตียน  เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับการสงเคราะห์อย่างหนึ่ง  ทำโดยการนำเทียนขี้ผึ้งแท้  3  เล่ม   ไส้เทียนทำด้วยด้ายสีขาว   จำนวนเส้นด้ายเท่ากับอายุของผู้บูชาเทียน  ให้พระเป็นผู้ทำพิธีจุดเทียนหน้าพระพุทธรูป  ที่วัดหรือที่บ้าน เพื่อให้เกิดโชคลาภแก่ผู้บูชา

–  พิธีฮ้องขวัญ  หรือสู่ขวัญ  เป็นพิธีกรรมที่ทำให้กับคนที่ฟื้นไข้ใหม่ ๆ โดยมีหมอขวัญ ทำพิธีทำพิธีให้มีเครื่องประกอบพิธี  เช่น  หมาก  เทียน  ผ้าขาว  ผ้าแดง  ข้าวสาร  เงินบาท เหรียญบาท   อาหารคาวหวาน  เสื้อผ้าของผู้ป่วย  และ  ไข่ต้ม  นอกจากนี้ยังอาจจะทำเพื่อเรียก ขวัญข้าว ขวัญวัว ขวัญควาย ขวัญช้าง  ขวัญนาค

– พิธีเลี้ยงผีปู่ผีย่า  เป็นพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ   หรือผีประจำตระกูล  เพื่อคอยปกปักรักษา

ลูกหลานให้อยู่เป็นสุข  มักทำเป็นประจำทุกปี  เป็นเวลา  1  วัน  ราวเดือน  5  หรือเดือน  6 เหนือ  โดยเชิญผีปู่ย่ามาเข้าร่างคนทรง ให้ลูกหลานมากราบไว้ขอพร และเลี้ยงอาหาร  ในพิธีจะมีดนตรีพื้นเมืองมาบรรเลง  เช่น  วงสะล้อ  ซอซึง

– ประเพณีปี๋ใหม่เมือง  เป็นประเพณีสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 3 – 17 เมษายน   ของทุกปี มีกิจกรรมในแต่ละวัน  คือ

(1) วันที่ 13 เมษายน เรียกว่าวันสังขารล่อง ตอนเช้ามืดจะมีการจิสะโป้ก ( จุดพลุเสียงซึ่งทำด้วยปล้องไม้ไผ่ ) เพื่อไล่สังขาร ช่วงกลางวันจะทำความสะอาดร่างกายสระผม ซักเสื้อผ้าทำความสะอาดบ้านเรือน   และทำพิธีขอขมา   ไหว้ธรณีประตู  หม้อข้าว  เตาไฟ  ฯ ล ฯ ในบ้านของตน

(2) วันที่ 14 เมษายน เรียกว่าวันเนาว์ เป็นวันทำบุญตักบาตรที่วัด   และอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษ (ภาษาถิ่นเรียกว่า  ไปตานสะป้อก) ตอนบ่ายขนทรายเข้าวัดในวันนี้ห้ามกล่าวคำหยาบหรือคำที่ไม่เป็นมงคล

(3) วันที่ 15 เมษายน  เรียกว่าพญาวัน   ตอนเช้าไปทำบุญที่วัด   ตอนสายทำพิธีดำหัวญาติผู้ใหญ่  ตอนบ่ายสรงน้ำพระที่วัด

(4) วันที่ 16 เมษายน  เรียกว่าวันปากปี  เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่มีการทำพิธีสะเดาะ-เคราะห์ และสืบชะตากันที่วัด

(5) วันที่ 16  เมษายน เรียกว่าวันปากเดือน ถือเป็นวันเสร็จสิ้นภารกิจ จึงมีการฉลองปีใหม่กันอย่างสนุกสนานครื้นเครง  มีขบวนแห่และการละเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ

– ประเพณีลอยกระทง  ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12  ภาษาถิ่นเรียกว่า  ประเพณียี่เป็ง  ช่วงเช้ามี การทำบุญตักบาตรและปล่อยโคมลอย   ฟังเทศน์ทำนองพื้นเมือง  16  กัณฑ์  คือ   เทศน์มหาชาติ13   กัณฑ์ เทศน์พระมาลัยต้น  1  กัณฑ์ เทศน์พระมาลัยปราย  1  กัณฑ์  และเทศน์อานิสงส์ผางประทีป  1กัณฑ์  จบภายใน  1  วัน  และมีการจุดดอกไม้เพลิง (บอกไฟดอก)  ถวายเป็นพุทธบูชาด้วย การคืนมีการลอยกระทง  ซึ่งเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์วิธีหนึ่ง  โดยอธิษฐานก่อนปล่อยกระทงลงน้ำว่า  “ ขอให้เคราะห์ร้ายทั้งหลาย  จงดับไปกับไฟ  ไหลไปกับน้ำ”

– ประเพณีเข้าพรรษา  ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เหนือ ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนเกี๋ยงเหนือ ( เดือน 11 ภาคกลาง ) ชาวบ้านทั้งหลายจะพากันไปทานขันข้าวหาคนตาย รวมทั้งการทานแด่ พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ที่ยังมีชีวิตอยู่ และใส่บาตร รับศีล ตอนกลางคืนมีการถวายเทียนพรรษา ก่อนจะถึงวัน หรือเวลาถวายเทียน มักจะมีการแห่เทียนพรรษาไปตามหมู่บ้านเป็นที่สนุกสนาน ในช่วงเข้าพรรษาชาวบ้านส่วนใหญ่จะไปทำบุญกันทุกวันพระ มีการฟังเทศน์ ฟังธรรม สำหรับคนทั่วไปบางคนตั้งใจในการงดเว้นบาป และถือศีล เช่นรักษาศีลตลอดพรรษา งดเว้นดื่มสุรา งดเว้นเนื้อสัตว์ตลอดพรรษา

–  ประเพณีออกพรรษา ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนเกี๋ยง ( เดือน 11 ภาคกลาง ) ก่อนวันออกพรรษาหนึ่ง วันซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชา ชาวบ้านจะมีการทำอาหาร ขนม เพื่อนำไปทำบุญใสบาตรเทโว ในวันนี้พระสงฆ์จะทำพิธีทางศาสนาในพระอุโบสถตอนรุ่งอรุณ หมู่พระสงฆ์จะเดินออกมาจากพระอุโบสถ ระหว่างที่พระสงฆ์เดินเรียงมานี้ ชาวบ้านผู้ทำบุญก็จะทำพิธีใส่บาตรด้วยข้าวสุกบ้าง  ข้าวต้มบ้าง ขนมที่เตรียมไว้บ้าง ซึ่งปัจจุบันนิยมใส่ด้วยข้าวสารอาหารแห้ง พอสาย ๆ ชาวบ้านจะทำบุญที่เรียกว่า ทานขันข้าว ให้กับญาติที่ตายไป

กีฬา  นันทนาการ/พักผ่อน

1) สนามกีฬาเอนกประสงค์                  จำนวน   –   แห่ง

2) สนามฟุตบอล                              จำนวน   1  สนาม

3) สนามบาสเกตบอล                        จำนวน   1  สนาม

4) สนามตะกร้อ                              จำนวน   1  สนาม

5) สนามวอลเล่บอล                          จำนวน   1  สนาม

6) สนามเด็กเล่น                              จำนวน   2   แห่ง

7) ศูนย์กีฬาตำบล                            จำนวน   1  แห่ง

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

1) จำนวนผู้เสียชีวิตโดยอุบัติเหตุจากรถยนต์                                       จำนวน   – คน

2) ความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่เกิดจากมนุษย์ และจากธรรมชาติ  จำนวน   – บาท

3) จำนวนคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ และประชาชน                                 จำนวน   – คดี

4) จำนวนคดีเสียชีวิต ร่างกาย และเพศ                                            จำนวน  –  คดี

5) จำนวนอุบัติเหตุจากรถยนต์                                                     จำนวน   – ครั้ง

การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

1) สถิติเพลิงไหม้ในรอบปี (1 ม.ค. – 31 ธ.ค.)  จำนวน   1   ครั้ง

2) ความสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินจากเพลิงไหม้ในรอบปีที่ผ่านมา

(1) ผู้เสียชีวิต   – คน                         (2) บาดเจ็บ     – คน

(3)  ทรัพย์สินมูลค่า   20,000   บาท

3) รถดับเพลิง   1 คัน

4) รถบรรทุกน้ำ 1 คัน

5) รถกระเช้า    – คัน

6) เครื่องดับเพลิง   10 เครื่อง

7) พนักงานดับเพลิง   – คน

8) อาสาสมัครป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย   110 คน

1.6 การศึกษา

สถาบันการศึกษาในเขตตำบลบ้านปง  แยกตามระดับการศึกษา

  • 1) โรงเรียนประถมศึกษา          2     แห่ง         คือ

(1)  โรงเรียนบ้านปงท่าข้าม

ครู  22  คน     นักเรียน  221  คน      ชาย  111  คน  หญิง  110  คน

(2)  โรงเรียนบ้านปงหัวหาด

ครู  10  คน     นักเรียน  76  คน  ชาย  39  คน  หญิง  37  คน

2) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก     2 แห่ง  คือ

  • (1)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปงท่าข้าม    ผู้ดูแลเด็ก  3  คน       เด็กเล็ก  49  คน
  • (2)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปงหัวหาด   ผู้ดูแลเด็ก  2  คน       เด็กเล็ก  40  คน

3) การศึกษานอกระบบโรงเรียน 1 แห่ง  คือ

  • (1) ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบ้านปง   ครู  1  คน     นักเรียน  ๖๘  คน